top of page
Search

มรดก "หนี้"

Writer's picture: Thai Medical Law OfficeThai Medical Law Office

ข้อพึงระวังในการรับมรดก "หนี้"


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การรับมรดกนั้นอาจรับมาได้ทั้งทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ เพราะฉะนั้น "หนี้" ซึ่งเป็นหน้าที่อันพึงต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้จึงตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทด้วย


อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วเจ้าหนี้จะไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้เกินไปกว่ากองมรดกที่ตกทอดแก่ทายาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1734 ประกอบ มาตรา 1738 เช่น ตัวอย่างสมมติ บิดามีหนี้ 10 ล้านบาท แต่มีทรัพย์มรดกอยู่ 5 ล้านบาท ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกใช่ว่าจะต้องไปชำระเงินเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ของบิดาอีก 5 ล้านบาท เจ้าหนี้สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากกองมรดกได้เพียง 5 ล้านบาทเท่านั้น


กระนั้น ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบางท่านไม่ทราบข้อกฎหมายเช่นนี้ จึงมักปรากฏเหตุการณ์ว่า


ในบางครั้ง เจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงิน มักจะเรียกทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมาเจรจาเพื่อลดหนี้ให้ เช่น สถาบันการเงินอาจจะแจ้งกับท่านว่า บิดาของท่านเป็นหนี้กับธนาคารอยู่จำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านบาท แต่หากท่านตัดสินใจตกลงภายใน 10 นาทีนี้ ทางธนาคารจะปรับลดให้ร้อยละ 50 ของยอดหนี้ คงเหลือเป็นจำนวนหนี้เพียง 50 ล้านบาท แต่เท่านั้นยังไม่พอ ทางธนาคารยังจะแถมโดยระบุลงในสัญญาให้อีกด้วยว่า เจ้าหนี้จะไม่ใช้สิทธิในทางแพ่งหรือทางอาญาเอากับทายาท


หากท่านลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเรียกสัญญาประเภทนี้ว่าอย่างไรก็ตาม อาจจะเช่น หนังสือประนอมหนี้ หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ กระนั้น ตัวตนที่แท้ของสัญญาฉบับนี้ คือ "สัญญาประนีประนอมยอมความ"


สรุปว่า สัญญาเช่นนี้เป็นประโยชน์กับท่านหรือไม่? คำตอบ คือ ไม่ เนื่องจาก มูลหนี้จะเปลี่ยนมาเป็นมูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จากที่ในเบื้องแรกเจ้าหนี้อาจบังคับชำระหนี้เอาได้กับกองมรดก คือ มีเท่าไร บังคับได้เท่านั้น ไม่สามารถมาบังคับเอากับทรัพย์สินส่วนตัวของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกได้ แต่หากท่านได้ทำสัญญาในลักษณะเช่นว่านี้ มูลหนี้จะเปลี่ยนไป เกิดเป็นมูลหนี้ใหม่ กลับกลายเป็นหนี้ของตัวท่านเอง เช่นนี้ ทรัพย์สินของท่านสามารถถูกเจ้าหนี้ฟ้องให้บังคับชำระหนี้ได้ทั้งหมดเต็มตามจำนวนที่ตกลง


ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะลงลายมือชื่อในเอกสารใด ๆ ให้ท่านอ่านข้อสัญญาและศึกษาข้อกฎหมายให้ถี่ถ้วนเสียก่อน หรืออาจจะเลือกปรึกษาทนายความที่ท่านไว้วางใจ

Recent Posts

See All

ประเด็นพิพาทจาก "ใบรับรองแพทย์"

ว่าด้วยเรื่อง "ใบรับรองแพทย์" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษากฎหมายในกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอยู่กรณีหนึ่ง...

“สินสอด” (คุณหมอ)

พ่อแม่ฝ่ายหญิงที่รับสินสอดนั้น ควร/ต้อง คืนสินสอดกลับให้แก่คู่บ่าวสาวเพื่อตั้งต้นชีวิตใหม่หรือไม่? เมื่อพิจารณาตาม มาตรา 1437 วรรคสาม...

Comentários


Follow

Contact

Call 02-686-3411

Fax 02-686-3433

Address

1 เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ตึก B ชั้น 47 ห้อง 4703 ถ.สาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

©2024 by Thai Medical Law Office.

bottom of page