top of page
Search
  • Writer's pictureThai Medical Law Office

การผ่าศพ (autopsy)

การผ่าศพในประเทศไทยแบ่งเป็นกรณีใหญ่ ๆ ได้ 2 กรณี คือ

1. การผ่าศพโดยพยาธิแพทย์ (pathologist) 2. การผ่าศพโดยแพทย์นิติเวช (forensic physician)


การผ่าศพในกรณีที่ 1 มักเป็นการผ่าเพื่อความรู้ทางการแพทย์ (academic purpose) ส่วนการผ่าศพในกรณีที่ 2 เป็นการผ่าตามกฎหมาย (ป.วิ.อ. มาตรา 151 ประกอบ มาตรา 152)


ณ ที่นี้จะกล่าวถึงกรณีการผ่าศพในกรณีที่ 2 เท่านั้น


โดย "ส่วนใหญ่" แพทย์นิติเวชจะ "เปิด" ร่างกาย 2 บริเวณ คือ ศีรษะ และ ช่องอก-ท้อง และนำอวัยวะภายใน "ออก" มาเพื่อตรวจสอบ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ ฯลฯ โดยการ "ดูสด (gross examination)" และ "ดอง (fixation)" ชิ้นเนื้อบางส่วนหรือทั้งอวัยวะ (organ fixation) เพื่อนำไปตรวจดูต่อทางจุล (histology examination) ทั้งนี้ เมื่อแพทย์นิติเวชตรวจสอบอวัยวะจนเสร็จการแล้ว จะนำอวัยวะทั้งหมด ในสภาพที่ "ผ่านการตรวจสอบแล้ว" คือ ถูกฝานเป็นชิ้น ๆ "ใส่" กลับคืนไปใน "ช่องอก-ท้อง" รวมทั้ง "สมอง" ซึ่งนำออกมาจากศีรษะ โดยมิได้แยกเก็บคืนที่เดิมแต่อย่างใด ซึ่งเป็นวิธีทางปฏิบัติสากล


ดังนั้น ในทางปฏิบัติ จึงมัก "เสริม" ช่องที่ว่างลงในกะโหลกศีรษะโดยการ "ใส่" ผ้า หรือ ก้อนกระดาษ เข้าไปแทน เพื่อให้ศีรษะคงรูป และเย็บหนังศีรษะ รวมถึงผิวหนังบริเวณช่องอก-ท้อง ปิดกลับคืน

ในบางกรณี หากมีความเสี่ยงที่ "ของเหลว" อาจซึมหรือรั่วไหลผ่าน "รอยเย็บ" ก็อาจจะใส่อวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้นใน "ถุง" และปิดปากถุงให้แน่นก่อนที่จะนำใส่กลับเข้าไปในช่องอก-ท้องดังกล่าว

กรณีที่แพทย์นิติเวชอาจทำ "การดองอวัยวะทั้งอัน (organ fixation)" เช่น สมอง ซึ่งมีลักษณะอ่อนนุ่มเหมือนเต้าหู้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงจากอิทธิพลบางประการ โดยทำให้มีลักษณะที่ "เละ" เกินกว่าที่จะสมควร "ฝานสด" ได้ การดองนั้นจะช่วยให้ texture ของอวัยวะ "แข็งและคงรูปขึ้น" และในบางครั้ง ยังทำให้ "สี" ที่อาจสังเกตได้ไม่ชัดในการดูสด ชัดเจนขึ้น ทำให้แพทย์นิติเวชสามารถตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้น การ "ผ่าศพครั้งที่ 2 (2nd autopsy)" แล้วพบ "ก้อนกระดาษยัดอยู่ในกะโหลก" หรือ "สมอง หัวใจ และกระเพาะปัสสาวะหายไป" จึงเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้ตามหลักวิชากา


Recent Posts

See All

ประเด็นพิพาทจาก "ใบรับรองแพทย์"

ว่าด้วยเรื่อง "ใบรับรองแพทย์" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษากฎหมายในกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอยู่กรณีหนึ่ง ซึ่งมีข้อเท็จจริงอันอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้เสียหายขับขี่รถจัก

สัญญาให้ทุนแก่บุคลากรทางการแพทย์

เราได้มีโอกาสร่วมทำงานในคดีแรงงาน ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอยู่หลากหลายคดี หนึ่งในคดีที่ลุล่วงไปแล้วด้วยดีอย่างยิ่ง จึงอยากจะมาแชร์ประเด็นที่น่าขบคิดให้ได้รั

“สินสอด” (คุณหมอ)

พ่อแม่ฝ่ายหญิงที่รับสินสอดนั้น ควร/ต้อง คืนสินสอดกลับให้แก่คู่บ่าวสาวเพื่อตั้งต้นชีวิตใหม่หรือไม่? เมื่อพิจารณาตาม มาตรา 1437 วรรคสาม แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความว่า “สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ

Post: Blog2_Post
bottom of page