top of page
Search
  • Writer's pictureThai Medical Law Office

ตัวอย่างการวิเคราะห์กลยุทธ์โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ซีรั่มลดริ้วรอยภายใน 5 นาที จากคลิปโฆษณา


บทวิเคราะห์กลยุทธ์โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ พิจารณารายประโยคที่สำคัญ


1. “และนี่คือเคล็ดลับที่คอยดูแลผิวหน้าของผม” (นาทีที่ 0.40) ถ้อยคำกลยุทธ์: “ของผม” - ผมเท่านั้น

2. “ซีรั่มที่ช่วยลดริ้วรอยที่ดีมาก... สำหรับผม” (นาทีที่ 0.47) ถ้อยคำกลยุทธ์: “สำหรับผม” - ดีมากสำหรับผมเท่านั้น

3. “ผมรู้สึกได้เลยครับ ว่าผิวหน้าผม ดูมีชีวิตชีวามาก” (นาทีที่ 0.57) ถ้อยคำกลยุทธ์: “ผมรู้สึก” “ผิวหน้าผม” “ดู” – ผมเท่านั้นที่รู้สึก กับผิวหน้าของผมเท่านั้น และผมแค่ “รู้สึก” ว่า “ดู” มีชีวิตชีวา เท่านั้น

4. “… จะช่วยปกปิดริ้วรอย ให้ดูลดเลือนลงใน 5 นาที” (นาทีที่ 1.16) ถ้อยคำกลยุทธ์: “ปกปิด” “ดูลดเลือน” - เพียงแค่ “ปกปิด” และทำให้ “ดู” ลดเลือน ลง เท่านั้น

5. “Kelly ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อพวกเรา ผิวหน้า จึงได้เป็นแบบนี้ ... (เสียงกีตาร์ที่ให้ความรู้สึกดีดดิ้ง)” (นาทีที่ 1.42) ถ้อยคำกลยุทธ์: (เสียงกีตาร์) – ใช้เสียงดนตรีเพื่อบ่งความรู้สึกโดยไม่ใช้ข้อความ


จะเห็นได้ว่า ซีรั่มตามกรณีตัวอย่างนั้นอยู่ในขอบข่าย “เครื่องสำอาง” ที่ช่วย “ปกปิดริ้วรอย” เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องไปกับข้อเท็จจริงว่า ซีรั่มดังกล่าวได้จดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท “เครื่องสำอาง” (เลขที่ใบรับจดแจ้ง 10-1-5875754)


ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาเครื่องสำอาง

1. พ.ร.บ. เครื่องสำอางฯ มาตรา 37 กล่าวโดยสรุป คือ ให้ใช้บทบัญญัติใน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคฯ กับการโฆษณาเครื่องสำอาง

2. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 22 ประกอบมาตรา 47 กล่าวโดยสรุป คือ ห้ามโฆษณาด้วย “ข้อความ” ลักษณะต่าง ๆ ซึ่งอาจสรุปได้ว่าหมายถึง “ข้อความ” อันเป็นเท็จ/เกินจริง


จะเห็นได้ว่า ข้อความต่าง ๆ ดังปรากฏในโฆษณาตัวอย่างนั้น ไม่เข้าด้วยข้อกฎหมายใดข้างต้น ทั้งยังไม่ปรากฏข้อความใดอันเป็นการแสดงสรรพคุณทางยาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว


อย่างไรก็ตาม ปรากฏข้อบังคับใน “Unacceptable Claims of ASEAN Cosmetic Claims Guidelines” และ มือการโฆษณาเครื่องสำอาง โดย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ว่า เครื่องสำอางกลุ่มปกปิดริ้วรอยนั้นจะต้องแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ว่าผู้ใช้จะได้รับผลในการใช้ในช่วงเวลาเมื่อใช้เครื่องสำอางเท่านั้น เช่น เครื่องสำอางในกลุ่ม Concealer และ Foundation กระนั้น คงจะต้องพิจารณาต่อไปว่า ประกาศดังกล่าวนี้ มีสภาพบังคับทางกฎหมายอย่างไร หรือไม่ ต่อไป


จะเห็นได้ว่า การมีคณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยนักกฎหมายจะสามารถคอยช่วยตรวจสอบและให้คำปรึกษากับองค์กรสำหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกกฎหมาย


กระนั้น “คุณธรรมและจริยธรรม” ยังเป็นสิ่งที่เห็นควรยึดถือเป็นที่หนึ่ง

Recent Posts

See All

ประเด็นพิพาทจาก "ใบรับรองแพทย์"

ว่าด้วยเรื่อง "ใบรับรองแพทย์" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษากฎหมายในกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอยู่กรณีหนึ่ง ซึ่งมีข้อเท็จจริงอันอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้เสียหายขับขี่รถจัก

สัญญาให้ทุนแก่บุคลากรทางการแพทย์

เราได้มีโอกาสร่วมทำงานในคดีแรงงาน ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอยู่หลากหลายคดี หนึ่งในคดีที่ลุล่วงไปแล้วด้วยดีอย่างยิ่ง จึงอยากจะมาแชร์ประเด็นที่น่าขบคิดให้ได้รั

“สินสอด” (คุณหมอ)

พ่อแม่ฝ่ายหญิงที่รับสินสอดนั้น ควร/ต้อง คืนสินสอดกลับให้แก่คู่บ่าวสาวเพื่อตั้งต้นชีวิตใหม่หรือไม่? เมื่อพิจารณาตาม มาตรา 1437 วรรคสาม แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความว่า “สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ

Post: Blog2_Post
bottom of page