top of page
Search
  • Writer's pictureThai Medical Law Office

เหตุใดเมื่อผ่าศพแล้วอวัยวะบางส่วนจึงหายไป?

การผ่าศพนั้นอาจแบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ได้ ดังนี้

1. ผ่าศพ และตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ แบบสด ๆ (gross examination) โดยการฝานเป็นชิ้น ๆ 2. เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากอวัยวะต่าง ๆ หรือ เก็บอวัยวะ "ทั้งอัน" โดยการดอง (fixation) เพื่อนำมาตรวจสอบใหม่อีกครั้งและนำไปตรวจสอบต่อทางจุล (histology examination) 3. คืนศพให้ญาติ*** หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4. รอเวลาให้ชิ้นเนื้อหรือ "อวัยวะ" นั้นแข็งตัวขึ้น เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ ระยะเวลาในการรอเฉลี่ย 3 ถึง 14 วัน 5. นำชิ้นเนื้อหรืออวัยวะในข้อ 4 มาตัดเป็นชิ้นเล็กและบาง แล้วใส่ในบล็อก (block) แช่ขี้ผึ้ง (paraffin) รอให้แข็งตัว จากนั้นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะฝานด้วยใบมีดกลเพื่อให้เป็นแผ่นบางมาก และนำไปย้อมสีทางการแพทย์ ประกอบสำเร็จเป็นสไลด์ (slide) เตรียมให้แพทย์ตรวจทางจุล ระยะเวลาในกระบวนการเฉลี่ย 1 ถึง 3 สัปดาห์ 6. แพทย์นำสไลด์ที่ได้จากกระบวนการในข้อ ๕ มาตรวจสอบทางจุล (ส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์) ระยะเวลาในการตรวจสอบเฉลี่ย 1 สัปดาห์ 7. แพทย์ออกรายงานการผ่าศพ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 152 (ซึ่งมีรายละเอียดทั้งการตรวจศพภายนอก ภายใน และการตรวจทางจุล) ภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือน นับแต่วันผ่าศพ


จะเห็นได้ว่า การผ่าศพแยกธาตุในทางปฏิบัติปกติสากลนั้นมีการตัดชิ้นเนื้อจากอวัยวะต่าง ๆ ของศพออกมาเพื่อตรวจสอบต่อ หรือในบางกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเก็บอวัยวะทั้งชิ้นเพื่อตรวจสอบต่อก็พบเห็นได้อยู่เป็นนิจ


หมายเหตุ: ระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงระยะเวลาเพียงกว้าง ๆ เท่านั้น ในทางปฏิบัติของแต่ละสถานที่ อาจใช้ระยะเวลาสั้นกว่าหรือยาวกว่าได้แล้วแต่กรณี

Recent Posts

See All

ประเด็นพิพาทจาก "ใบรับรองแพทย์"

ว่าด้วยเรื่อง "ใบรับรองแพทย์" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษากฎหมายในกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอยู่กรณีหนึ่ง ซึ่งมีข้อเท็จจริงอันอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้เสียหายขับขี่รถจัก

สัญญาให้ทุนแก่บุคลากรทางการแพทย์

เราได้มีโอกาสร่วมทำงานในคดีแรงงาน ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอยู่หลากหลายคดี หนึ่งในคดีที่ลุล่วงไปแล้วด้วยดีอย่างยิ่ง จึงอยากจะมาแชร์ประเด็นที่น่าขบคิดให้ได้รั

“สินสอด” (คุณหมอ)

พ่อแม่ฝ่ายหญิงที่รับสินสอดนั้น ควร/ต้อง คืนสินสอดกลับให้แก่คู่บ่าวสาวเพื่อตั้งต้นชีวิตใหม่หรือไม่? เมื่อพิจารณาตาม มาตรา 1437 วรรคสาม แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความว่า “สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ

Post: Blog2_Post
bottom of page